วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

อาการของแมวเมื่อได้รับพิษจากพืชหรือสารมีพิษอื่น ๆและวิธีรักษาเบื้องต้น


เขียนเพลินเนอะ 555+ ตั้งแต่รับตัวยัยกะทิมาอยู่ด้วยกันนี่ รู้สึกเหมือนตัวเองได้เปิดโลกที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นหลายอย่าง อย่างเช่นเรื่องของพืชพรรณที่แมวสามารถกินได้และกินไม่ได้นี่ล่ะ อิชั้นเองก็เพิ่งจะรู้ว่า แมวเองก็มีสิทธิ์ได้รับพิษจากพืชที่กินเข้าไปได้เหมือนกัน ซึ่งหากน้องแมวเราเผลอกินพืชดังกล่าวเข้าไปแล้ว ก็จะมีอาการหนักเบา มากน้อยต่างกัน โดยจะมีอาการได้ตั้งแต่ ชัก น้ำลายฟูมปาก อาเจียน ทรงตัวไม่ได้ หมดสติ จนถึงขั้นร้ายแรงวิกฤติก็คือมีสิทธิ์เสียชีวิตไ้ด้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพืชพรรณนั้นได้รับการใส่ปุ๋ยหรือฉีดยาฆ่าแมลงไว้ ก็ยิ่งจะทำให้แมวได้รับพิษภัยจากสารเคมีได้โดยง่าย


ทีนี้หากเกิดเหตุการณ์ที่คาดฝัน น้องแมวของเราเกิดมีอาการที่เหมือนกับจะได้รับสารพิษจากต้นไม้่ใบหญ้าหรือสารเคมีที่มันไม่ควรกินเข้าไปล่ะ จะมีวิธีการแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

จริง ๆ แล้ววิธีที่ดีที่สุดเมื่อเราทราบว่าน้องแมวของเรากินสารพิษเข้าไป ไม่่ว่าจะเป็นสารพิษจากพืชหรือจากแหล่งอื่น ๆ ก็คือการรีบพาตัวไปพบสัตวแพทย์น่ะนะคะ แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที อาทิเช่น เกิดเหตุกลางดึก หรืออยู่ไกลจากคลีนิคหรือโรงพยาบาลรักษาสัตว์ เราก็มีวิธีรักษาเบื้องต้นที่จะช่วยพยุงอาการเพื่อซื้อเวลาจนกว่าจะถึงมือหมอได้ดังนี้ค่ะ

1. หากได้รับสารพิษจากการกิน สัตว์จะมีอาการ หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหลหรือน้ำลายฟูมปาก หากสารพิษมีความระคายเคืองสูง ริมฝีปากจะแดงหรือไหม้ ควรรักษาเบื้องต้น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1.1ให้สารที่ทำให้อาเจียน(ป้อนภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังได้รับสารพิษ) โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งจากรายชื่อด้านล่างนี้ ได้แก่

  • 3% ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ โดยให้ในอัตราส่วน 1-2 มล./นน.ตัว 1 กก.
  • เกลือแกง ในอัตราส่่วน 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำก่อนป้อน
  • น้ำเชื่อมไอปิแคท (Ipecac syrup) ในสุนัข ให้ให้ 1-2 มล./นน.ตัว 1 กก. ส่วนในแมว ให้ให้ 3.3 มล./นน.ตัว 1 กก.
ข้อควรระวังก็คือ ห้ามให้ในสัตว์ที่เกิดอาการชัก ไม่รู้สึกตัว หมดสติ หายใจลำบาก หรือได้รับสารพิษที่มีความระคายเคืองสูงเด็ดขาด อย่างเช่น แกมไวด้รับ กรด ด่าง น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำมันก๊าด หรือยาฆ่าแมลงเข้าไป ในกรณีที่กินสารพิษที่มีความระคายเคืองสูง ควรให้น้ำในปริมาณมากเพื่อให้สารพิษเจือจางลง และควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

1.2 ขั้นตอนที่สองก็คือขั้นตอนของการให้สารที่จะช่วยดูดซับสารพิษค่ะ สารประเภทนี้ได้แก่
  • ผงถ่าน Activated charcoal ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบยาเม็ด (Ultracarbon tablet) ยาผง หรือยาน้ำ ขนาดที่ใช้คือ 1-4 กรัม/นน.ตัว 1 กก. (บดแล้วละลายน้ำ ตัวละ 3-10 เม็ด) ให้ซ้ำในอีก 4-8 ชั่วโมงต่อมา
ซึ่งขั้นตอนนี้ ห้ามใช้ในกรณีที่สัตว์ของเรากินสารพิษในกลุ่มน้ำมันหรือแอลกอฮอร์เข้าไปน่ะนะคะ

นอกจากจะได้รับสารพิษจากการกินเข้าไปแล้ว น้องแมวของเราอาจได้รับสารพิษทางการสัมผัสอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบทำการรักษาษาเบื้องต้นไว้ก่อนดังนี้

หากเป็นสารพิษที่สัมผัสทางผิวหนัง เช่น สีทาบ้าน ยาฆ่าแมลง น้ำมัน ให้ทำการล้างตัวสัตว์เลี้ยงของเราด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่หรือแชมพูอ่อนร่วมด้วย จากนั้นก็ให้ป้อนด้วยผงถ่านเพื่อป้องกันหากสัตว์เลี้ยงของเราเลียขนและได้รับสารพิษเข้าไปในร่างกาย


หากเป็นสารพิษนั้นเข้าตาแมวหรือสัตว์เลี้ยงของเรา ให้ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างตาหลาย ๆ ครั้ง โดยล้างจากหัวตาไปหางตา

ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงขั้นตอนปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น หรือขั้นตอนการรักษาในกรณีที่ไม่สามารถพาสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นน้องหมาหรือน้องแมวของเราไปพบแพทย์ได้ทันท่วงทีน่ะนะคะ ที่สำคัญที่สุดก็คือ แม้ว่าจะได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว ก็ควรรีบพาน้องแมวของเราไปพบหมอให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ค่ะ เพื่อให้มั่นใจว่าชีวิตของสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราจะปลอดภัยจากพิษภัยร้ายของสารต่าง ๆ ที่ได้รับเข้าไปภายในร่างกายนั่นเองค่ะ


อ้างอิงข้อมูลจาก siamcountrypet.com
ภาพประกอบจาก mrbigben.com, bellapop.com